วันเสาร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2556

5.THE ASEAN WORLD



บทที่
2.
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
-ประชาคมอาเซียน
-เว็บไซต์ (Blogger)
    ประชาคมอาเซียน
     ประชาคมอาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations : ASEAN) เป็นองค์กรระหว่างประเทศระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีจุดเริ่มต้นโดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ได้ร่วมกันจัดตั้ง สมาคมอาสา (Association of South East Asia) เมื่อเดือน ก.ค.2504 เพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดำเนินการไปได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่างประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย จนเมื่อมีการฟื้นฟูสัมพันธ์ทางการฑูตระหว่างสองประเทศ จึงได้มีการแสวงหาหนทางความร่วมมือกันอีกครั้ง
     สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 ส.ค.2510 หลังจากการลงนามในปฎิญญาสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Declaration of ASEAN Concord) หรือเป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า ปฏิญญากรุงเทพ (The Bangkok Declaration)
โดยสมาชิกผู้ก่อตั้งมี 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศที่ร่วมลงนามในปฏิญญากรุงเทพ ประกอบด้วย
1.นายอาดัม มาลิก รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย
2.ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย
3.นายนาซิโซ รามอส รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์
4.นายเอส ราชารัตนัม รัฐมนตรีต่างประเทศสิงคโปร์
5.พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จากประเทศไทย
หลังจากจัดตั้ง ประชาคมอาเซียนเมื่อ 8 ส.ค.2510 แล้ว อาเซียนได้เปิดรับสมาชิกใหม่จากประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มเติมเป็นระยะ ตามลำดับได้แก่

-บรูไนดารุสซาลาม เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 8 มกราคม 2527
-สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 28 กรกฏาคม 2538
-สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 23 กรกฎาคม 2540
-สหภาพพม่า เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 23 กรกฏาคม 2540
-ราชอาณาจักรกัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 30 เมษายน 2542

วัตถุประสงค์ในการก่อตั้งประชาคมอาเซียน
ประชาคมอาเซียน ก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เริ่มแรกเพื่อสร้างสันติภาพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันนำมาซึ่งเสถียรภาพทางการเมือง และความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และเมื่อการค้าระหว่างประเทศในโลกมีแนวโน้มกีดกันการค้ารุนแรงขึ้น ทำให้อาเซียนได้หันมามุ่งเน้นกระชับและขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าระหว่างกันมากขึ้น วัตถุประสงค์หลักที่กำหนดไว้ในปฏิญญาอาเซียน (The ASEAN Declaration) มี 7 ประการ ดังนี้

1.             ส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคมและวัฒนธรรม
2. ส่งเสริมการมีเสถียรภาพ สันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค
3. ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์ และด้านการบริหาร
4. ส่งเสริมความร่วมมือซึ่งกันและกันในการฝึกอบรมและการวิจัย
5. ส่งเสริมความร่วมมือในด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม การค้า การคมนาคม การสื่อสาร และปรับปรุงมาตรฐานการดำรงชีวิต
6. ส่งเสริมการมีหลักสูตรการศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
7. ส่งเสริมความร่วมมือกับองค์กรระดับภูมิภาคและองค์กรระหว่างประเทศ
2.             เว็บไซต์
เว็บไซต์ (อังกฤษ: Website, Web site หรือ Site) หมายถึง หน้าเว็บเพจหลายหน้า ซึ่งเชื่อมโยงกันผ่านทางไฮเปอร์ลิงก์ ส่วนใหญ่จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์ โดยถูกจัดเก็บไว้ในเวิลด์ไวด์เว็บ หน้าแรกของเว็บไซต์ที่เก็บไว้ที่ชื่อหลักจะเรียกว่า โฮมเพจ เว็บไซต์โดยทั่วไปจะให้บริการต่อผู้ใช้ฟรี แต่ในขณะเดียวกันบางเว็บไซต์จำเป็นต้องมีการสมัครสมาชิกและเสียค่าบริการเพื่อที่จะดูข้อมูล ในเว็บไซต์นั้น ซึ่งได้แก่ข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ หรือข้อมูลสื่อต่างๆ ผู้ทำเว็บไซต์มีหลากหลายระดับ ตั้งแต่สร้างเว็บไซต์ส่วนตัว จนถึงระดับเว็บไซต์สำหรับธุรกิจหรือองค์กรต่างๆ การเรียกดูเว็บไซต์โดยทั่วไปนิยมเรียกดูผ่านซอฟต์แวร์ในลักษณะของ เว็บเบราว์เซอร์

 

การสร้าง Blogger

รู้จักกับ Blogger.com
Blogger.com เป็นบริการฟรี Blog ของบริษัท Google ซึ่งเปิดให้บุคลทั่่วไปสามารถสมัครใช้บริการเขียนเรื่องราวต่างๆ ของผู้ใช้บริการ Blogger.
ปัจจุบัน Blogger ถือเป็นที่นิยมอย่ามาก ผู้คนที่ต้องการเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับตนเอง หรือเขียนเรื่องราวที่ตนเองชื่นชอบ สามารถสมัครใช้บริการ Blogger ได้ง่ายๆ และสามารถทำให้ Blog ของพวกเขา เป็นที่รู้จักทั่วโลกผ่านระบบ Internet ภายในเวลาอันรวดเร็ว. ไม่แปลกเลยที่ Blogger จะเป็นที่นิยมมีคนใช้้มากมาย

เรามาดูตัวอย่างของ Blogger กันค่ะ ว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง

  • สามารถสร้าง Blog ส่วนตัว ที่มีลักษณะคล้างคลึงกับ Website
  • เขียนเรื่องราวที่ชื่นชอบ สู่สายตาคนทั่วโลกได้อย่างรวดเร็ว
  • มีระบบ Comment ผู้อ่านสามารถใส่ความคิดเห็นตอบกลับไปยังเจ้าของ Blog
  • เป็นสังคมของผู้ที่ติดตามเรื่องราวใน Blog นั้น

ข้อดีของ Blogger ที่ทำให้เป็นที่นิยมอย่างมากมายทั่วโลก

  • มีระบบการใช้งานที่ง่ายมาก สำหรับคนที่ไม่รู้อะไร ก็สามารถที่จะเขียน Blog ได้ทันที
  • สามารถปรับแต่เนื้อหาได้หลากหลายรูปแบบการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น Blog วีดีโอ, Blog รูปภาพ, หรือแม้แต่การแสดงความสามารถของตนเองผ่าน Blogger และอื่นๆอีกมากมาย
  • สร้างเนื้อหาได้อย่างไม่จำกัด
  • ปรับแต่หน้าตาของ Blog ได้อย่างสวยงาม และมี Theme (หน้าเว็บที่ถูกปรับแต่งให้สวยงามมาแล้ว) ให้เลือกใช้อย่างมากมาย ซึ่งสามารถเปลี่ยนได้เพียงแค่ 1 คลิ๊กเท่านั้น!
วิธีสมัคร Blogger
สิ่งแรกที่ต้องมีในการสมัคร Blogger คือ E-mail ของ Gmail เท่านั้นค่ะ เมื่อเพื่อนๆที่สมัคร Gmail เรียบร้อยแล้ว สามารถทำตามวิธีดังต่อไปนี้เลยค่ะในการสมัคร Blogger มาใช้งานกัน
1. สามารถเปลี่ยนภาษาทางด้าน ขวาบน ได้หลากภาษาค่ะ จากนั้นคลิ๊กที่สร้างบล๊อกดังรูปค่ะ

2. ตั้งชื่อส่วนหัวของบล๊อก ตั้งชื่อบล๊อก จากนั้นก็ คลิ๊กดำเนิกการต่อ ดังรูปค่ะ


3. เลือกแม่แบบ หรือ Theme (หน้าตาบล๊อก) จากนั้น คลิ๊ก ดำเนินการต่อ ดังรูปค่ะ


4. เสร็จเรียบร้อยแล้วค่ะ คลิก เริ่มต้นการเขียนบล็อก ได้ทันทีเลย ดังรูปค่ะ


ง่ายมากๆ เลยใช่ไหมค่ะ ก่อนที่เพื่อนๆจะเริ่มเขียนบล๊อก แนะนำให้เพื่อนๆศึกษาการใช้งานให้เข้าใจก่อนนะค่ะ เพื่อทำความเข้าใจและเริ่มต้นสร้างบล๊อกได้อย่างไม่ติดขัดค่ะ สิ่งที่เพื่อนๆจะต้องศึกษามีดังนี้ค่ะ
แผงควบคุม Dashboard
เมื่อเพื่อนๆทำการ Login เข้ามาโดยใช้ E-mail และ Password เรียบร้อยแล้ว สิ่งที่เพื่อนๆ จะต้องเจอหน้าแรกก็คือ แผงควบคุม (Dashboard)
แผงควบคุม (Dashboard) เป็นหน้าที่รวม Blog ที่เราสร้างไว้ทั้วหมด รวมทั้งการเข้าถึง Blog นั้นๆ เพื่อแก้ไข หรือสร้างบทความใหม่ การปรับแต่ง ตั้งค่า และอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งจะอธิบาย เมนู การใช้งานหน้าแผงควบคุม (Dashboard) ให้อย่างละเอียด เพื่อให้เพื่อนเข้าใจการใช้งาน Blogger ค่ะ

เมนูต่างๆของหน้า แผงควบคุม (Dashboard)

เมนูต่างๆที่เพื่อนๆต้องรู้มีไม่มากค่ะ แต่อาจจะลายตาไปหน่อยนะค่ะ ดูตามรูปภาพเลยค่ะ

1.             E-mail
ที่เราใช้สมัครเป็บ Username ของเราค่ะ
2.             หน้าแผงควบคุม(Dashboard)
3.             หน้า Account
หรือหน้ารวมเครื่องมือต่างๆ ที่เราสมัครกับ Google เช่น E-mail, Blog, สามารถเปลี่ยนรหัสได้ในหน้านี้
4.             ช่วยเหลือ
เป็นการช่วยเหลือในส่วนต่างๆ ของ Blogger ที่ Google ทำไว้ให้เราค่ะ
5.             ออกจากระบบ
เป็นการ Logout ออกจากระบบการใช้งานเมื่อใช้งานสร็จค่ะ
6.             เปลี่ยนภาษา
ของบล๊อกเราทั้งระบบค่ะ
7.             ประวัติของเรา
สามารถปรับรูปภาพเกี่ยวกับเจ้าของค่ะ หรือโปรไฟล์ต่างๆ
8.             สร้างบล๊อกใหม่
และช่วยเหลือตามข้อ 4 ค่ะ
9.             ชื่อของบล๊อก
หรือ Title ของบล๊อกเรา ที่เราตั้งค่าไว้ตอนสมัครค่ะ
10.      ดูบล๊อกของเรา
11.      สร้างบทความใหม่ให้กับบล๊อก
12.      แก้ไขบทความ
เป็นการแก้ไขบทความต่างๆ ที่เราสร้างไว้แล้ว สามารถแก้ไขได้ในส่วนนี้
13.      การตั้งค่า
เป็นการตั้งค่าต่างๆ เช่น ชื่อบล๊อก และอื่นๆอีกมากมายค่ะ
14.      รูปแบบ
เป็นการเปลี่ยนรูปร่างหน้าตาของบล๊อกเรา (Theme)
ส่วนของการสร้างบทความให้เข้าไปที่ "การส่งบทความ" หัวข้อ "สร้าง" ให้เพื่อนๆทำความเข้าใจเมนูและเครื่องมือต่างๆ ของการสร้างบทความใน Blogger เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งาน

ความเข้าใจเบื้องต้นในการสร้างบทความ

การสร้างบทความใช้พื้นฐาน Microsoft word คือเขียนอย่างไรก็จะออกมาอย่างนั้น แบ่งออกเป็น 2 ส่วน
1.             ส่วนของ "เขียน"
ในส่วนนี้จะเหมือน Microsoft Word เกือบทุกๆอย่าง อยากเขียนอะไร อยากใช้ตัวหนา ตัวเอียง การใส่ Link เพียงแค่คลิ๊กเมนูการใช้งานด้านบน มีข้อเสียคือ เวลา Copy อะไรก็ตามแล้วนำมา Paste ลงในนี้ ลักษณะของของตัวอักษรจะเหมือนกับต้นแบบที่ Copy มาทุกอย่างค่ะ
2.             ส่วนของ "HTML"
ส่วนนี้ต้องใช้ความรู้พอสมควรในการปรับแต่เนื้อหาหรือบทความที่เราเขียนให้เป็นไปตามที่เราตั้งใจ ซึ้งต้องใช้ความรู้ภาษา HTML พอสมควร แต่ไม่ได้ยากเท่าไรค่ะ ข้อดีคือ สามารถปรับตามความต้องการของเราได้ทุกอย่าง เมื่อ Copy อะไรมาวาง ลักษณะตัวอักษรจะถูกปรับเป็นตัวอักษรปกติของบล๊อกเราค่ะ
ข้อสังเกต

การ Copy อะไรมาวางถ้าไม่อยากให้ลักษณะผิดเพี้ยน ไม่ตรงตามรูปแบบที่สวยงาม ให้ Copy แล้วทำมา Paste ในส่วนของ HTML ค่ะ ข้อความทั้งหมด จะถูกปรับให้การแสดงผลเป็นค่าปกติของบล๊อกเรา ไม่ใช่ตามลักษณะต้นแบบที่เรา Copy มาค่ะ

เครื่องมือต่างๆ ในการสร้างบทความ

Blogger มีเครื่องมือต่างๆมากมาย เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเขียบบทความได้ตามรูปแบบที่ตั้งใจ ดูตามดังรูปเลยค่ะ

1.             แบบอักษร สามารถเลือกตัวอักษรได้ตามต้องการ
2.             ปรับขนาดตัวอักษร ปรับขนาดความใหญ่หรือเล็กลง
3.             ตัวหนา
4.             ตัวเอียง
5.             สีของตัวอักษร
6.             ทำ Link ให้ข้อความ เราสามารถสร้าง Link ให้ข้อความได้โดยการ คลิ๊กคลอบข้อความที่เราต้องการแล้วกดที่เมนูนี้ ระบบจะให้ทำการใส่ URL (ที่อยู่ของ Link เช่น www.snook.com) เมื่อคลิ๊กที่ข้อความจะถูกส่งไปยังหน้าเว็บที่เราใส่ Link เข้าไป
7.             ทำบทความให้ชิดซ้าย
8.             ทำบทความให้อยู่กึ่งกลาง
9.             ทำบทความให้ชิดขวา
10.      ทำบทความให้ชิดทั้งขอบซ้ายและขวา
11.      ทำรายการเรียงลำดับเป็นตตัวเลข
12.      ทำรายการเรีนงลำดับเป็นจุด
13.      ใส่ "," ให้กับข้อความที่ต้องการเน้นคำพูด
14.      เพิ่มรูปภาพลงในบทความของเรา ระบบจะให้เราอัพโหลดไฟล์รูปภาพจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา สามารถปรับขนาดและจัดรูปแบบให้อยู่ ซ้าย,กลาง,ขวา ได้
15.      เพิ่ม Video เข้าไปในบทความของเราเช่นเดียวกับรูปภาพค่ะ
16.      ส่วนนี้เป็นการลบข้อความที่เราเขียนผิดพลาด ในส่วนนี้ไม่ค่อยได้ใช้เท่าไร หรือไม่ได้ใช้เลยก็ได้
17.      แก้ไข HTML ส่วนนี้ต้องใช้ความรู้พอสมควรในการปรับแต่เนื้อหาหรือบทความที่เราเขียนให้เป็นไปตามที่เราตั้งใจ ซึ้งต้องใช้ความรู้ภาษา HTML พอสมควร
18.      หน้าที่ใช้เขียนบทความเหมือนการใช้งาน Microsoft Word
19.      แสดงตัวอย่างที่เราเขียนบทความ
20.       
การใส่หัวข้อเรื่อง เช่น เรื่อง "การตกแต่งบ้างโดยใช้ต้นไม้ประดับ" หัวข้อก็คือ การตกแต่งบ้าน (บ่งบอกให้รู้ว่าเรื่องเกี่ยวกับอะไร)
21.      ทำการเผยแพร่บทความทันที บทความจะแสดงหน้าบล๊อกของเราทันที่ที่เราเผยแพร่
22.      บันทึก เป็นการบันทึกบทความไว้ก่อน จะยังไม่แสดงในหน้าบล๊อกของเรา เหมือนการร่างบทความ เราสามารถเข้าไปปรับเปลี่ยนทีหลังได้ใน "การแก้ไขบทความ"
        
การแก้ไขบทความของ Blogger มีระบบการใช้งานที่ง่ายมาก อยากจะแก้บทความไหน ก็แก้ในบทความนั้น อยากจะใช้ป้ายกำกับอะไรให้บทความ ก็สร้างป้ายกำกับ และกดตั้งค่าป้ายกำกับ สามารถลบบทความ ลบป้ายกำกับ ดูรายละเอียดการสร้างบทความ เช่น บทความเผยแพร่เวลาเท่าไร ใครเป็นผู้เขียนบทความนั้น เรามาดูเมนูควบคุมต่างๆ ของการแก้ไขบทความกันเลย



1.             การใช้งานป้ายกำกับ เราสามารถ ลบ เพิ่ม และเปลี่ยนป้ายกำกับให้บทความเราได้ โดยการติ๊กช่องหน้าบทความค่ะ
2.             ช่องค้นหา สามารถค้าหาบทความโดยใส่ Keyword ลงไปค่ะ
3.             ช่องแก้ไข และ ชื่อบทความหรือหัวข้อใหญ่ของบทความ ในการแก้ไข เพิ่มป้ายกำกับให้บทความ ลบบทความ เราสามารถติ๊กถูกในช่องหน้าแก้ไข จะสามารถแก้ไขได้พร้อมๆกันค่ะ
4.             ร่างและวางกำหนดการแสดงของบทความ
5.             บทความที่นำเข้ามาจากบล๊อกอื่น
6.             บทความที่เผยแพร่แล้ว
7.             บทความต่อหน้า จะให้หน้านี้แสดงบทความทั้งหมดกี่บทความ
8.             ลบบทความ
9.             ชื่อคนเขียนบทความ
10.      บทความได้เผยแพร่เวลาเท่าไร
11.      รายชื่อป้ายกำกับทั้งหมด ในส่วนของ () คือจำนวนบทความที่อยู่ในป้ายกำกับนั้น
12.      เผยแพร่บทความ (ที่เราติ๊กถูกหน้าบทความ) ใช้สำหรับบทความที่ร่างไว้
13.      ลบรายการที่เลือก (ที่ติ๊กถูกหน้าบทความ)
14.      สร้างบทความใหม่
15.      ชื่อของป้ายกำกับประจำบทความ


บทที่ 3
อุปกรณ์และวิธีการดำเนินการ

ขั้นตอนการดำเนินการ

1.คิดหัวข้อโครงงาน
2.ศึกษาค้นคว้าข้อมูลที่จะนำมาทำโครงงาน
3.ศึกษาการทำโครงงาน
4.ศึกษาการทำเว็บไซต์ (Blogger)
5.ลงมือทำเว็บไซต์ (Blogger)



บทที่ 4
ผลการดำเนินงาน
ผลงาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น